Wednesday, April 30, 2014

Istanbul (Part 2)

Last time I gave a preliminary points of Istanbul but not quite like I have told you everything that is the reason for this second part of my excerpt.

I should write about the place based on my own experience so that you shall take into account what I have been through. It's a long trip as you can reckon, so what? I have a right to say something I guess. This part I will tell story about what I like and dislike most about the city. Shall we?

The best of Istanbul is the access of tourist attractions in a walking distance. This also includes those by the tram lines with low cost of expense. If you just walk around to enjoy the air of the place. People are kind and friendly, most of all, they are extremely patient. I suppose they are familiar with tourists all over the world traveling to visit each year. The other thing is, the restaurants. A thousand or more in the area, perhaps I was exaggerate but no one can tell. I just found in every corner of the street not include the stalls along the roads. Turkish mostly enjoy their meals in different styles. I found my favorite one is fish sandwich. Sounds simple, right? but let me tell you about it. I walked under the bridge connecting between the two stations of the tram and under the bridge there were many food shops so I picked one by the good smell of grilled fish. Yes, they put it in the bread with some sliced vegetable. Then you put lemon juice in before taking a bite. The a bit salty of grilled fish goes well with the sour taste. I just finished it without knowing.

The other thing that touched me most was small shops of business for local people still survive under tremendous changes of the city i.e houses are modified into small hotels for guests. I could not find 7/11shops like in Thailand at all. Of course there are certainly some convenient buy shops in the main spots but in general I would say that it was easy to buy things there.

However, smoking habit of Turkish people became my big problem from the very first day I  reached there. No doubt how cigarette business is popular in the country, I was a passive smoker without intention during the days. To give you a clear picture, I guess perhaps my lungs have developed a spot or two or even more already. Almost everybody smokes. Men, women, younger, older you named it. I felt terribly sorry for these chain smokers and the polluted air they built . They just don't care. Neither do they care for their health, so how come they would for others'. It would have been such a great time for me if only I had walked along the street without holding my breath.

Stray cats and dogs are also something that breaks my heart every time I see them. The most shocking time was when I walked pass a boy curling himself against the wall trying to protect himself from the cold. He was selling small packs of tissue paper for a living. I thought only cats and dogs but I was wrong. Some children here are beggars struggling with dirty clothes and bare feet. Some sat in the rain with hopeless eyes. I wanted to stop and ask what they were doing, where their homes were but I had no courage to do so. My heart was broken into small pieces. When I just turned my head and walked away.

My last day in Istanbul

I am waiting for a shuttle bus to pick me up and drop off at the airport. It's time I went back to work after a long holiday. I look at Istanbul as a charming tourist city that I will never forget. The people,  the cats, the mosques and all of those walking alleys one after another. Promise to myself I shall get back here again.

I have spent just a short time here, so I propably know Istanbul only a particular aspect. However, my experience in walking has been much improved. On top of that, if you are comng to visit the place, be expecting a queue, I mean the long queue when you want to in a place. It's incredible how people are that tolerate, even in the rain. Trust me, you have to be well prepared as great amount of patience is incredibly required. There are many interesting places to see especially the top view of Gullata tower where you can almost view all around Istanbul. The mosques are magnificient wherever they are located. Turkish people are lovely and kind. They are willing to help no matter what when and how. I was so impressed from the first day I arrived when we are looking for the way to our hotel. Well, you have to come and find out by yourself. And hopefully, you will fall in love with the charming city, just like me.

BTW, if you are a girl, be ready to meet a good looking Turkish guys. Nevertheless, be certain not to fall for him. Most of men here are handsome, believe me, you will surely find nine out of ten passing by guys your type. Girls? They keep most of them at home because all working labours are men as far as I can see and have been told. Still, you can see some girls dressing fashionably on streets. So, this might not be justified, only my personal opinion.

Just a brief notice about traffic. Previously, I thought Bangkok is the worst but I suddenly changed my mind when encountered traffic style in Istanbul. Well, it's unlikely to be a problem actually, as I haven't seen any serous accident, neither did I see any police around. This only refers to buses and cars but for the trams I have to admit that I love it! I used trams a lot to move around. Metro? There are many but I just tried once from airport to the tiurist area. I think they should be good too as many lines are linked around old city and  new city but for connecting Asia side ferry is a choice.

You can see the diversity of Istanbul and now it's time to go explore it!

Saturday, April 19, 2014

Perceptions of computer-supported collaborative learning (CSCL) and its effect on learning performance, self-regulated learning and sustainability behaviors

Abstract
A student social network was established under EU-SUPPORT based on computer-supported collaborative learning (CSCL). The EU-SUPPORT network is a sub network of the Norwegian Environmental Education Network that focuses on schools to promote the quality of education for sustainable development. The investigation into CSCL network involved examining participation and quality of the discussion, the degree of knowledge building in this collaborative network and the effectiveness of learning environment on learning performance, self-regulated learning behaviors, sustainability behaviors and students’ perception. Participants were 200 secondary school students from Malaysia and Thailand. Students who took part in this project collaboratively worked on assigned online activities with the theme ‘Climate Change’ via web-based instructions. The development of the social network was monitored and social interaction amongst participants was examined using Social Network Analysis (SNA). The level of knowledge building was determined by Content Analysis (CA) using Interaction Analysis Model (IAM). Self-reported survey questionnaires and test items on the concepts of ‘Climate Change’ were administered prior and after the activities in order to investigate sustainability behaviors, self-regulated learning behaviors, learners’ perception and performance. The results indicated that the established student network was considered active with rather dense network. The discussion forum produced in the network was proven to be sustained. All five phases of knowledge building were observed in discussion forum however, most posting notes were restricted to the initial phase. The questionnaire statistical analysis revealed that collaborative learning activities in this social network significantly improved self-regulated learning behaviors, sustainability behaviors and learning performance of students with positive perception towards the learning environment.


Ph.D Thesis under the School of Educational Studies University Sains Malaysia (2010) 

Self-regulated learning behavior and perception of students participating in EU-SUPPORT social network

Salubsri Charoenwet 
Suratpittaya School Surat Thani 84000 Thailand salubsri@gmail.com
Zurida Ismail zurida
University Sains Malaysia Penang Malaysia zurida@usm.my

Abstract
A student collaborative social network was established based on computer-supported collaborative learning (CSCL) platform of EU-SUPPORT network. The EU-SUPPORT is a sub network under the Norwegian Environmental Education that focuses on schools to promote the quality of education for sustainable development. Participants were two hundred of students from secondary schools in Malaysia and Thailand who engaged in task-based discussion forum related to environmental issues. Students collaboratively worked on assigned online activities with the theme ‘Climate Change’ via web-based instructions. Self-reported survey questionnaires were administered prior and after the activities in order to investigate, self-regulated learning behaviors and students’ perception towards the learning platform. The results from questionnaire statistical analysis revealed that collaborative learning activities significantly improved self-regulated learning behaviors of students participating in this social network. The analysis of students’ perception indicated that students tended to have positive feeling towards the learning environment.

Keywords: CSCL, collaborative learning, EU-SUPPORT, social network, self-regulated learning, students’ perception

Presented in International Conference on Advanced ICT for Education (ICAICTE 2013)
September 20-22, Sanya, Hainan, China


Learning Outcomes and Attitudes of Grade 9 Students toward Studying Science in English

Salubsri Charoenwet 
Suratpittaya School Surat Thani 84000 Thailand salubsri@gmail.com
Zurida Ismail zurida
University Sains Malaysia Penang Malaysia zurida@usm.my

Abstract
The importance of English language has increasingly gained more attention in the Thai education system, particularly in the coming ASEAN Community scheme in 2015. The aim of this study is to investigate the results of integrating English in teaching science in the context of Thai education. Grade 9 students from secondary school in Multilanguage Program (MLP) participated in the enriched program of learning science using English language as a medium of communication. The unit taught was Genetics and learning materials in English including the test were provided. Learning outcomes and students’ attitudes were examined after 18 periods of learning activities. The content test in Genetics was administered in Thai language to this group of students similar to those who were in the normal program in order to assess their knowledge regarding the subject content they have learned. The results showed that the posttest score was statistically higher than the pretest’s at the level of 0.05 with the average percentage of pretest and posttest score 47.60 and 72.50 respectively. The average score from the assessment test using the Thai exam paper provided satisfying results with the average percentage of 82.58. The data from the questionnaires revealed positive attitudes of students participating in this program. However, it is found that supplementary hours in Thai are apparently required to promote understanding and in-depth learning of the science content.

Keywords: Learning science, Integrated English learning, Science in English, Students’ attitudes


Presented in International Conference on Information Business and Education Technology (ICIBET 2013) March 14-15, Beijing, China 

Thursday, April 17, 2014

Knowledge Building and Students’ Perception in the EU-SUPPORT Network

Salubsri Charoenwet 
Suratpittaya School Surat Thani 84000 Thailand salubsri@gmail.com
Zurida Ismail zurida
University Sains Malaysia Penang Malaysia zurida@usm.my

Abstract The EU-SUPPORT (Partnership and Participation for a Sustainable Tomorrow) network is a sub-network of the Norwegian Environmental Education Network that focuses on schools to promote the quality of education for sustainable development. Under the EU-SUPPORT, a social network was established based on the CSCL platform. Students from secondary schools in Malaysia and Thailand participated in this learning network through online collaborative project activities via web-based instructions with the theme ‘Climate Change’. The initiative and development of the social network was monitored. Density of the network and quality of discussion thread were examined prior to further assessment of collective knowledge in the network community. Interaction analysis model (IAM) was used to determine the degree of knowledge building through discussion forum and students’ perception towards the learning environment were investigated using self-reported survey. The results indicated that the established student network was considered active with rather dense network. The discussion forum produced in the network was proven to be sustained with high average length of discussion thread. Statistical analysis of the data from the questionnaires revealed positive perceptions of students participating in the network activities. However, there was a lack of in-depth discussion and hence, higher learning in this collaborative student network was not obtained.

Keywords —Computer-supported collaborative learning, Knowledge building, Student network, Students’ perception            


Presented in 2nd Rajamangala University of Technology Thanyaburi International Conference, 24-26 November, 2010, Bangkok, Thailand 

Wednesday, April 16, 2014

Integrated English in Science Study

บูรณาการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ภาษาอังกฤษ

          จากการทดลองสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ภาษาอังกฤษโดยใช้ครูผู้สอนคนไทย ในหน่วยการเรียนเรื่องพันธุศาสตร์ (Genetics) ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของนักเรียนโครงการห้องเรียน  
สามภาษา (Multilanguage Program-MLP) มีข้อค้นพบหลายประการ รวมทั้งข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัจจัยซึ่งจะทำให้เกิดความสำเร็จในการสอนเนื้อหาวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษซึ่งจะได้นำเสนอต่อไปนี้ ผลที่ได้รับในการศึกษาครั้งนี้นอกจากจะมีการผลิตสื่อการจัดการเรียนการสอนในหน่วยการเรียนเรื่อง Genetics เป็นภาษาอังกฤษแล้ว ยังเป็นการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของครูเพื่อนำไปใช้ในการสอนรวมทั้งมีศึกษาผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนทั้งในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของครู จากการศึกษาผลที่เกิดขึ้นในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแสดงให้เห็นว่านักเรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาที่ยากผ่านสื่อภาษาอังกฤษได้ในระดับที่น่าพอใจผลการทดสอบหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเป็นที่สังเกตว่าในระหว่างการจัดกิจกรรม การเรียนการสอน การปฏิสัมพันธ์ของนักเรียนกับครูแตกต่างไปจากการเรียนกับครูชาวต่างชาติในด้านการควบคุมชั้นเรียน และการให้ความช่วยเหลือนักเรียนในการทำงานกลุ่ม นักเรียนจะให้ความสนใจ และตั้งใจเรียนรวมทั้งปฏิบัติตามคำแนะนำได้ค่อนข้างดี และมีรูปแบบคล้ายคลึงกับชั้นเรียนที่สอนโดยครูไทยที่พบเห็นทั่วไปขณะที่ภาษาที่ใช้เป็นภาษาอังกฤษ อาจกล่าวได้ว่าการเรียนการสอนเป็นไปโดยใช้สื่อภาษาสากลแต่คงไว้ซึ่งรูปแบบของความเป็นไทย และเกิดการผสมกลมกลืนอย่างลงตัวให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสม
ผลการทดสอบความรู้ภาคภาษาไทยนักเรียนทุกคนสามารถทำคะแนนได้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยนักเรียนส่วนใหญ่มีผลคะแนนอยู่ในระดับดี  (ร้อยละ 80 ขึ้นไป) แบบทดสอบที่ใช้ในการสอบวัดความรู้ในครั้งนี้เป็นแบบทดสอบที่ใช้กับกลุ่มนักเรียนที่เรียนในโครงการปกติซึ่งใช้วัดและประเมินผลการเรียนกับนักเรียนในระดับชั้นเดียวกันที่เรียนกับครูผู้สอนที่เป็นคนไทย เมื่อทำการเปรียบเทียบกับข้อมูลทั่วไปอาจพอสรุปได้ว่านักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านสื่อภาษาอังกฤษได้ดีกว่าการใช้ครูชาวต่างชาติเป็นผู้สอน โดยเฉพาะเนื้อหาที่ยากแก่การทำความเข้าใจ นอกจากนี้ยังพบว่าการใช้ครูไทยสอนมีผลต่อการควบคุมพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนโดยจะช่วยให้การเรียนการสอนเป็นไปในทิศทางที่กำหนด บรรลุเป้าหมายตามที่ได้วางไว้ และลดความขัดแย้งในเชิงวัฒนธรรม ซึ่งพบได้บ่อยครั้งในการสอนของครูชาวต่างชาติ เนื่องจากครูไทยจะเข้าใจธรรมชาติของนักเรียน และมีกลวิธีในการสอนที่แยบยล หลากหลาย และยืดหยุ่นกว่า รวมทั้งมีการควบคุมระเบียบ วินัยที่ดีกว่าและปฏิเสธไม่ได้ว่าการจัดการเหล่านี้ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนทั้งสิ้น
ในการสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เนื้อหา
วิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษพบว่าแม้ค่าเฉลี่ยในภาพรวมของระดับความคิดเห็นจะอยู่ในระดับดี นักเรียนได้ให้น้ำหนักค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษค่อนข้างน้อย (3.59) เมื่อเทียบกับข้ออื่นๆ ข้อสังเกตอย่างหนึ่งคือนักเรียนกลุ่มทดลองเป็นนักเรียนในโครงการพิเศษ MLP ที่มีความถนัดทางภาษา แม้นักเรียนจะมีความเข้าใจพื้นฐานโดยทั่วไปในการสื่อสารแต่เมื่อต้องเรียนเนื้อหาที่มีความซับซ้อนอย่างเช่นวิทยาศาสตร์ ข้อจำกัดในการเรียนรู้อันเกิดจากอุปสรรคทางภาษาเช่นศัพท์เทคนิค (Terminology) ทำให้เกิดความยากลำบากในการทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ซึ่งเป็นความจำเป็นการเรียนวิทยาศาสตร์หากครูไม่สามารถนำพานักเรียนให้ก้าวผ่านขั้นตอนนั้นไปได้ นักเรียนที่มีพื้นฐานทางภาษาไม่เพียงพออาจเกิดความเครียด เบื่อหน่ายการเรียน และปฏิเสธที่จะเรียนรู้ในที่สุด
ภาษาอังกฤษจัดเป็นภาษาต่างประเทศ (Foreign language) หรือภาษาที่สอง (Second language) รองจากภาษาหลักของประเทศคือภาษาไทยที่จำเป็นต้องเรียนรู้ตามหลักสูตรเพื่อใช้สำหรับติดต่อสื่อสารกับชาวต่างชาติ แต่ไม่ได้เป็นภาษาที่ใช้ในราชการ (Official language) ของประเทศไทย ดังนั้นหากไม่มีพื้นฐานทางภาษาที่ดีพอ การที่จะคาดหวังให้นักเรียนใช้ภาษาอังกฤษทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียนอย่างคล่องแคล่ว ย่อมเป็นไปได้ยาก เนื่องจากไม่ได้ใช้เป็นประจำ ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นการเรียนรู้เนื้อหาที่ยากขึ้นอย่างเช่นวิชาวิทยาศาสตร์ จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถของทั้งครู และนักเรียนอย่างยิ่งในการที่จะจัดการเรียนการสอนให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่คาดหวังไว้ ภาพรวมของผลการประเมินความคิดเห็นของนักเรียนที่อยู่ในระดับดี อาจเนื่องมาจากความเข้าใจของครูที่มีต่อผู้เรียนในการจัดกิจกรรมได้สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้โดยที่ภาษาไม่เป็นอุปสรรคสำคัญ ผลที่เกิดขึ้นคือจะไม่ก่อให้เกิดความตึงเครียดในห้องเรียนมากเกินไป ครูสามารถใช้ภาษาไทยกับนักเรียนในกรณีที่นักเรียนต้องการคำอธิบายในเชิงลึก ทำให้ปัญหาทางด้านการใช้ภาษาในการสื่อสารลดลงหรือหมดสิ้นไป นอกจากนี้การลำดับเนื้อหาจากง่ายไปสู่ยาก การใช้กระบวนการกลุ่มและทำงานร่วมกัน การให้กำลังใจเมื่อนักเรียนปฏิบัติได้ตามที่ครูแนะนำและการประเมินผลที่ต่อเนื่องยังช่วยส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับที่น่าพอใจ

ปัจจัยความสำเร็จ
   ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการที่จะใช้ภาษาอังกฤษในการสอนวิชาวิทยาศาสตร์น่าจะประกอบด้วยหัวข้อหลักดังต่อไปนี้
1.  ครูผู้สอน
นอกจากครูผู้สอนต้องมีความรู้ในเนื้อหาที่จะทำการสอนเป็นอย่างดีแล้ว การที่จะใช้ภาษา
อังกฤษในการสอนได้ ครูควรมีทักษะพื้นฐานทางภาษาระดับหนึ่งเพื่อที่จะก่อให้เกิดความมั่นใจในการใช้ภาษาที่ถูกต้องและต่อเนื่องซึ่งสามารถฝึกฝนทักษะเหล่านี้โดยการเตรียมตัวในการสอน การทำแผนการจัดการเรียนรู้ล่วงหน้า พร้อมกับสื่อการสอน เอกสารประกอบการสอน แบบทดสอบ ใบงาน แบบฝึก และการจัดกิจกรรมย่อยต่างๆ รวมทั้งการวางรูปแบบการวัดและประเมินผล ซึ่งควรจัดทำเป็นฉบับภาษาอังกฤษเพื่อให้สะดวกต่อการนำไปใช้ จะเห็นได้ว่าการเตรียมการสอนของครูต้องใช้เวลามากกว่าการสอนปกติ และต้องอาศัยความพยายาม ทักษะทางภาษา ความมุ่งมั่น และการทำงานที่ต่อเนื่อง เป็นระบบเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามความคาดหวัง
2.   นักเรียน
การเลือกกลุ่มนักเรียนที่ค่อนข้างจะมีความพร้อมในการเรียน มีความสนใจใฝ่รู้ มีความสามารถพื้นฐานทางภาษา และสื่อสารได้ในระดับหนึ่งซึ่งจะช่วยลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เนื่องจากนักเรียนมีความเข้าใจในคำบรรยาย คำสั่ง คำแนะนำในการทำกิจกรรม และจำนวนนักเรียนต่อชั้นเรียนที่ไม่ควรที่จะมากเกินไปซึ่งจะทำให้ครูดูแลได้อย่างทั่วถึงเมื่อนักเรียนปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม รวมถึงขั้นตอนในการติดตามวัดและประเมินผล
3.  การสอนเสริมในภาคภาษาไทย
ควรมีการทบทวนเนื้อหาโดยครูผู้สอนที่เป็นไทยเพื่อลดช่องว่างในการเรียนรู้ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการที่เนื้อหาที่มีความซับซ้อนทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของนักเรียนและความเหมาะสมของระยะเวลา หากเป็นไปได้ควรมีการทบทวนอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอรวมทั้งมีการสอบวัดความรู้เมื่อจบเนื้อหาในแต่ละบทเรียนเพื่อผลในระยะยาวหากนักเรียนจำเป็นต้องใช้ความรู้ในการทดสอบภาคภาษาไทย
4.    การสอบวัดความรู้
นอกจากการวัดผลและประเมินผลที่ต่อเนื่องแล้วการสอบวัดความรู้ภาคภาษาไทยในเนื้อหาที่เรียนก็มีความสำคัญเช่นเดียวกันเนื่องจากการเรียนในระดับนี้เป็นความรู้เบื้องต้นในขั้นพื้นฐานที่จะช่วยให้นักเรียนเรียนรู้เนื้อหาที่ยากขึ้นเมื่อต้องเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น นักเรียนควรสามารถนำความรู้ไปใช้เมื่อต้องทำข้อสอบเป็นภาคภาษาไทยเช่นการสอบเพื่อเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น ดังนั้นการสอบวัดความรู้จะช่วยให้นักเรียนได้ใช้ความรู้ที่เรียนมาทำแบบทดสอบ เพื่อให้ทราบระดับความสามารถของตนเองในเนื้อหาที่เรียนมา ดังนั้นการทดสอบความรู้ภาคภาษาไทยจึงนับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งหากต้องการทราบว่านักเรียนได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่ แม้ว่าการเรียนรู้นั้นจะเป็นการเรียนรู้ผ่านสื่อในภาษาอีกภาษาหนึ่งก็ตาม

                โดยสรุปแล้วในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อนับว่าเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของนักเรียนให้เต็มศักยภาพเพื่อก้าวสู่ความเป็นสากล ตามหลักการของ World Class Standard ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของการจัดการศึกษาสมัยใหม่เพื่อให้ทันต่อยุคสมัยในปัจจุบัน ผลจากการศึกษาในครั้งนี้แสดงถึงความเป็นไปได้ในการเรียนรู้ของนักเรียนผ่านสื่อการสอนที่ใช้ภาษาที่สองรวมทั้งทัศนคติที่ดีของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมดังกล่าว อย่างไรก็ตามยังมีข้อจำกัดบางประการที่ส่งผลต่อความเป็นไปได้นี้ซึ่งได้แก่ครูผู้สอน ผู้เรียน ระบบการสนับสนุน และการควบคุมคุณภาพในการวัดผลและประเมินผลระยะยาว นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับแนวทางในการจัดการเรียนการสอนซึ่งแตกต่างกันตามบริบทของสถานศึกษา ดังนั้นการวางแนวปฏิบัติที่ชัดเจน รวมทั้งการติดตามผลที่ต่อเนื่องและการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครือข่ายทางการศึกษาจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการดำเนินงาน ผลที่เกิดขึ้นในการพัฒนาบุคคลากรของประเทศตามนโยบายดังกล่าวอาจเป็นผลในระยะยาวและต้องอาศัยการศึกษาในเชิงวิจัยและพัฒนาควบคู่กันไปเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการตัดสินใจ และกำหนดทิศทางในการพัฒนาการศึกษาของประเทศต่อไปในอนาคต

บทความทางวิชาการ (2553) 

Pattern of Participation and a Comparative Analysis of Thai and Malaysian Students’ Perception towards the Learning Platform and Environment of EU-SUPPORT Social Network

Sharifah Norhaidah Syed Idros, Norizan Esa, Mohd Ali Samsudin, Abdul Rashid Mohamed and Salubsri Charoenwet
University Sains Malaysia, Penang, Malaysia

Abstract: The EU-SUPPORT network is a sub network under the Norwegian Environmental Education Network that focuses on schools from the European Union and some outside the EU to promote the quality education for sustainability. The main activity of the project was the international campaign of CO2 on the way to schools measured by the mean of transportation to and from school. The resources and instruction of the project activities were available on the website of Co2nnect and communication among participants was facilitated through web based instruction under EU-SUPPORT network system. While students were engaged in learning activities, the development of social network was monitored through participation and interaction among participants. Pattern of the participation in the social network was represented in term of the amount of discussion and frequency of participation. To examine if discussion was sustained, quality of discussion was determined by the average length of discussion thread. Communication messages were categorized into groups and the average discussion thread was calculated. Two hundred students from secondary schools on Thailand and Malaysia took part as distributed learners in the network through collaborative web based project along with other network members from schools around the globe. A students perception questionnaire was administered the included the construct of learning platform and learning environment. Results from independent t-test analysis indicates there is no significant difference between mean score of students’ perception between the Thai and Malaysian students in the learning platform though there is a significant difference in their perception towards the learning environment, t(198)=3.13, p<0.05(p=0.002). Considering that the EU-SUPPORT is a large network, the density of 0.31 measured is considered to be high. Consequently, interaction in the student collaborative social network under EU-SUPPORT appears to be active.

Keywords: EU-SUPPORT social network, Co2nnect campaign, pattern of participation, learning platform, learning environment

From: Proceedings of the 5th International Conference on E-Learning (2010)



Exploring CSCL environment of EU-SUPPORT social network towards self-regulated learning behaviors, sustainability behaviors and learners’ attitudes by mixed methods

Salubsri Charoenwet  salubsri@gmail.com
Sharifah Norhidah Syed Idros snsi@usm.my
University Sains Malaysia, USM, Penang 11800, Malaysia

Abstract
A student collaborative social network was established based on computer-supported collaborative learning (CSCL) platform of EU-SUPPORT network. The EU-SUPPORT network is a sub network under the Norwegian Environmental Education Network that focuses on schools to promote the quality of education for sustainable development. Participants were two hundred of secondary school students from Malaysia and Thailand. Students taking part in this project collaboratively worked on assigned online activities with the theme ‘Climate Change’ via web-based instructions. The development of the social network was monitored and social interaction amongst participants was examined using social network analysis (SNA) and content analysis (CA). Self-reported survey questionnaires were administered prior and after the activities in order to investigate sustainability behaviors, self-regulated learning behaviors and learners’ attitudes towards learning platform. The results indicated that the established student network was considered active with rather dense network. The discussion forum produced in the network was proven to be sustained with high average length of discussion thread. The questionnaire statistical analysis revealed that collaborative learning activities significantly increased self-regulated learning behaviors and sustainability behaviors of students participating in this social network while students showed positive attitudes towards learning environment.

Presented in the 13rd UNESCO-APEID International Conference ‘ICT Transforming Education’ November 15-17, 2009, Hangzhou, China


Student Network: An investigation of online collaborative learning for a sustainable future

Authors: Salubsri Charoenwet  salubsri@gmail.com
                Sharifah Norhidah Binti Syed Idros snsi@usm.my
                University, Sains Malaysia, USM, Penang 11800, Malaysia

Abstract
This current paper is an endeavor to propose a methodology for investigating into student social network with respect to collaborative online learning environment among secondary school students in Asia Pacific region. The network is established based on the combination of computer-supported collaborative learning (CSCL) approach and project-problem-based (PBL) platform that is delivered via web-based instruction. The main objective of this network is to create understanding and sense of awareness among learners about pressing environmental problems by bringing together students from diverse cultural background that are geographically distributed to collaboratively work on assigned scenarios concerning environmental issues. The discussion forum, shared in online space is observed and collective learning process is examined through the effectiveness of CSCL interactions. Both quantitative and qualitative methods are implemented to assess CSCL process. The variables of interests include the pattern of interaction, knowledge building, student learning behaviors and students’ perception. The pattern of interaction and participation is analyzed by using social network analysis (SNA) and the quality of dialogues is examined in the context of knowledge building using content analysis (CA). The data from self-reported survey is analyzed to interpret student behavior and attitude towards the learning platform. The details of experimental procedures and techniques implemented in data analysis will be addressed.


Presented in The 5th World Environmental Education Congress (WEEC) on May 10-14, 2009 at Montreal, Quebec, Canada

Tuesday, April 15, 2014

การสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่องพันธุศาสตร์ (Genetics)

วัตถุประสงค์
1.  เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษของครูผู้สอน
2.  เพื่อพัฒนาสื่อและเอกสารประกอบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในเรื่อง Genetics
3.   เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผ่านการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในวิชาวิทยาศาสตร์  
4.  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษโดยใช้ครูไทย
ผลการศึกษา
               ผลในการศึกษาครั้งแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ
1.  ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนซึ่งแบ่งออกเป็น
1.1  การเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียน (Pretest) และหลังเรียน (Posttest)
1.2  ผลการทดสอบความรู้ภาคภาษาไทย
2.  ด้านผลการประเมินความคิดเห็นนักเรียน
                ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน          
จากผลการศึกษาพบว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียน (Pretest) มีค่าเฉลี่ย 14.28 จาก คะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 47.60 ซึ่งมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ (ร้อยละ50) และคะแนนทดสอบหลังเรียน (Posttest) มีค่าเฉลี่ย 21. 75 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 72.50 ของคะแนนเต็ม และเมื่อทำการทดสอบทางสถิติด้วยค่า t-test พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (0.05)
ผลการทดสอบวัดความรู้ภาคภาษาไทย
ค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบความรู้ภาคภาษาไทยในเนื้อหาเรื่อง Genetics คิดเป็น 28.91 จากคะแนนเต็ม 35 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 82.58 โดยมีคะแนนสูงสุดคือ 33 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 94.28 และคะแนนต่ำสุดคือ 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 57.28 ซึ่งจัดว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน ในภาพรวมแล้วนักเรียนร้อยละ 78.12 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับดี คือมีผลคะแนนทดสอบความรู้ในภาคภาษาไทยคิดเป็นร้อยละ 80 ขึ้นไป 
ผลการประเมินความคิดเห็นนักเรียน
       หลังการจัดกิจกรรมได้มีการสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 10 ข้อ พบว่าค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับดี (4.07) โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.59 – 4.39 นักเรียนให้คะแนนสูงสุดในการจัดการเรียนการสอนในเนื้อหาที่สอดคล้องตามหลักสูตรในขณะที่ความเห็นด้วยในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษมีค่าเฉลี่ยของระดับความคิดเห็นต่ำสุด
สรุปผลการศึกษา
จากการศึกษาการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ภาษาอังกฤษในหน่วยการเรียนเรื่องพันธุ- ศาสตร์ (Genetics) ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ของนักเรียนโครงการพิเศษสามภาษา  (Multilanguage Program -MLP) นอกจากจะมีการผลิตสื่อที่ใช้สอนเป็นภาษาอังกฤษแล้ว ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแสดงให้เห็นว่านักเรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาโดยช้ภาษาอังกฤษได้ในระดับที่น่าพอใจผลการทดสอบหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและเป็นที่สังเกตว่าในระหว่างการจัดกิจกรรมการมีปฏิสัมพันธ์ของนักเรียนกับครูในด้านการให้ความช่วยเหลือนักเรียนในการทำงานกลุ่มและการควบคุมชั้นเรียน นักเรียนจะให้ความสนใจและตั้งใจเรียนรวมทั้งปฏิบัติตามคำแนะนำได้ค่อนข้างดีการเรียนมีรูปแบบคล้ายคลึงกับชั้นเรียนที่สอนโดยครูไทยขณะที่ภาษาที่ใช้เป็นภาษาอังกฤษอาจกล่าวได้ว่าการเรียนการสอนเป็นไปโดยใช้สื่อภาษาสากล แต่คงไว้ซึ่งรูปแบบของความเป็นไทยและเกิดการผสมกลมกลืนอย่างลงตัวให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสม
ผลการทดสอบความรู้ภาคภาษาไทย นักเรียนทุกคนสามารถทำคะแนนได้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้นักเรียนส่วนใหญ่มีผลคะแนนอยู่ในระดับดีแม้จะเป็นเนื้อหาที่ค่อนข้างยาก นอกจากนี้ยังพบว่าการใช้ครูไทยสอนมีผลต่อการควบคุมพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนโดยจะช่วยให้การเรียนการสอนเป็นไปในทิศทางที่กำหนด บรรลุเป้าหมายตามที่ได้วางไว้ และลดความขัดแย้งในเชิงวัฒนธรรมเนื่องจากครูไทยจะเข้าใจธรรมชาติของนักเรียนและมีความยืดหยุ่นกว่า รวมทั้งมีการควบคุมระเบียบวินัยที่ดีกว่าซึ่งการจัดการเหล่านี้ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน
ในการสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเนื้อหาวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษพบว่าแม้ค่าเฉลี่ยในภาพรวมของระดับความคิดเห็นจะอยู่ในระดับดีนักเรียนได้ให้น้ำหนักค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษค่อนข้างน้อย (3.59) เมื่อเทียบกับข้ออื่นๆเนื่องจากนักเรียนกลุ่มทดลองเป็นนักเรียนในโครงการพิเศษสามภาษาที่มีความถนัดทางภาษา แม้นักเรียนจะมีความเข้าใจพื้นฐานโดยทั่วไปในการสื่อสารแต่เมื่อต้องเรียนเนื้อหาที่มีความซับซ้อน ทำให้เกิดข้อจำกัดในการเรียนรู้ได้ในเชิงลึก ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนระดับสูงขึ้นต่อไปดังนั้นการใช้ครูไทยทำการสอนโดยผ่านสื่อภาษาอังกฤษจะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรในการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเป็นการลดปัญหาต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นจากการสอนโดยใช้ครูชาวต่างชาติอีกด้วย

นำเสนอใน
สัมนาวิชาการ World Class Standard Schools Regional Symposium:                   Partnership & Foreign Language Learning Conference, October 27,2011
การประกวดนวัตกรรมการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียoและทักษะในศตวรรษ21 24 มิ.ย. 2556 จ. ชุมพร

การพัฒนาหลักสูตรห้องเรียนพิเศษสามภาษา (Multilanguage Program- MLP)

ความเป็นมา และความสำคัญ
         การจัดหลักสูตรการศึกษาตามแนวทางโรงเรียนมาตรฐานสากล และการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและเตรียมความพร้อมบุคลากรของประเทศในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) ในปี 2558 ที่ต้องมีการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษเป็นหลักและการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศที่สองเพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจและการค้าในภูมิภาค ASEAN รวมทั้งความต้องการของชุมชน ทำให้ทางโรงเรียนสุราษฎร์พิทยาได้จัดหลักสูตรห้องเรียนพิเศษสามภาษา (Multilanguage Program -MLP) เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว  และเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถและมีความถนัดทางภาษาโดยคาดหวังให้นักเรียนที่จบหลักสูตรสามภาษาจะนำทักษะความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในการทำงานหรือการเรียนในระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งสร้างโอกาสในการแข่งขันในระดับนานาชาติต่อไป การศึกษาผลที่เกิดขึ้นและความเป็นไปได้ในการนำหลักสูตรไปใช้ รวมทั้งการนำข้อมูลที่ได้ไปสร้างแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการบริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
วัตถุประสงค์
1.  เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการใช้หลักสูตรสามภาษาปี 2553 - 2555
2.  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้มีส่วนร่วม
แนวทางการศึกษา
            ในการศึกษาผลการใช้หลักสูตรครั้งนี้ได้ทำการเก็บรวบรวม และเปรียบเทียบข้อมูลทางด้านต่างๆต่อไปนี้
1.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
2.  ผลการทดสอบความรู้
3.  ผลการสอบระดับชาติ O-Net
4.  ประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ผลการศึกษา
1.   จากการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในปีการศึกษา 2553, 2554 และ 2555 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ในปีการศึกษาดังกล่าว เพิ่มขึ้นโดยนักเรียนที่มีผลการเรียนระดับ 3.00 ขึ้นไปโดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 69.0, 72.3 และ 75.8  และนักเรียนที่มีผลการเรียนต่ำกว่า 2.50 คิดเป็นร้อยละ 13.9, 9.4 และ 8.1 ตามลำดับ
2.  จากการเปรียบเทียบผลการทดสอบวัดความรู้ของนักเรียนในปีการศึกษา 2554 และ 2555 พบว่าคะแนนเฉลี่ยในสามรายวิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เพิ่มขึ้นโดยในปีการศึกษา 2554 มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 28.90, 57.25 และ 56.90  และในปีการศึกษา 2555 คิดเป็นร้อยละ 59.56, 73.45 และ 78.96 ตามลำดับ
3.   จากการเปรียบเทียบคะแนนทดสอบ O-Net ปีการศึกษา 2553, 2554 และ 2555 พบว่า คะแนนเฉลี่ยใน 5 รายวิชา ภาษาไทย สังคม อังกฤษ คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์ คิดเป็น ร้อยละ 36.13, 41.54 และ 46.42 ตามลำดับ
4.  ผลการประเมินความพึงพอใจ ในปีการศึกษา 2555 พบว่า มีค่าเฉลี่ย 4.01 และอยู่ในระดับมาก
สรุปผลและข้อเสนอแนะ
          จากการศึกษาผลการพัฒนาหลักสูตรห้องเรียนพิเศษสามภาษา โรงเรียนสุราษฎร์พิทยาพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ผลการทดสอบวัดความรู้ รวมทั้งผลการทดสอบระดับชาติ O-Net เพิ่มขึ้น และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ในระดับดี นอกจากนี้ยังพบว่านักเรียนสามารถทำความเข้าใจเนื้อหาในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ได้ดีขึ้น และมีบรรยากาศในการเรียนที่เหมาะสม นักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีพื้นฐานความรู้พอเพียงที่จะนำไปใช้สอบเข้าเรียนต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผู้ปกครองและครูมีความพึงพอใจในการปรับปรุงหลักสูตร ข้อมูลที่ได้รับจากผลการศึกษาดังกล่าวได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดหลักสูตรของโครงการห้องเรียนพิเศษสามภาษาเพื่อให้เกิดความเหมาะสมสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาศักยภาพนักเรียนและเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษในหลักสูตรอื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นำเสนอใน
- การประกวดนวัตกรรมเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน และทักษะในศตวรรษที่ 21 ระดับเขตพื้นที่การ-ศึกษา 24 มิ.ย.2556 ณ โรงแรมมรกต จ. ชุมพร และระดับภาค 7-8 ก.ย. 2556 ณ โรงเรียนวิเชียรมาตุ จ. ตรัง
- OBEC AWARD ระดับภาค 20-22 พ.ย. 2556 จ. พัทลุง และระดับประเทศ  18-20 ก.พ. 2557 เมืองทองธานี นนทบุรี

An Online Project: A Framework for PBL Collaborative Learning

Author: Salubsri Charoenwet  salubsri@gmail.com
             Suratpittaya School, Surat Thani 84000, Thailand
             Sharifah Norhidah Binti Syed Idros snsi@usm.my
             Universiti Sains Malaysia, USM, Penang 11800, Malaysia

Abstract

In an online setting, project-based learning (PBL) becomes a promising alternative teaching pedagogy that provides an enriched learning environment in order to inculcate creative and critical thinking, communication and collaborative learning skills in young learners. Combined with computer-supported collaborative learning (CSCL) approach, communication among distributed learners is mediated through computer network and the web-based instruction. The synergy emerging from this combination assures a powerful platform for young learners to make contacts from various networks of inquirers thus widening the opportunity to celebrate diversity and differing cultures. This paper presents an experimental framework for establishing and monitoring an online social network for secondary school students to collaboratively work on the project activities in the community of practice dealing with sustainability issues. Students from different nations around the Asia Pacific region will have an opportunity to share their views and exchange information on the basis of their shared responsibility to the global issues in order to create a more sustainable future. The initial groundwork and the main purpose of the study as well as the experimental model will be discussed. 

Presented in the Penang International Conference 
Dec. 17-19, 2008 at Gurney Hotel. Penang, Malaysia